ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


ระบบโปรแกรม SET
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
เข้าสู่เว็บไซต์จังหวัดสุพรรณบุรี


งานวิจัย เรื่อง ผลการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบไฮสโคป ชื่อผู้รายงาน นางสาวสุดาวัลย์ นพวิสุทธิสกุล การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป ที่สร้างขึ้นเปรียบเทียบพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์ 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าการปฏิบัติงานศิลปะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์จากการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการสุ่มอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) คัดเลือกเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่สามารถพูดเป็นคำหรือสามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆ ได้ และไม่มีความพิการซ้ำซ้อน ได้นักเรียนจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการไฮสโคป เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ คือ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคปที่มีกระบวนการสอน 3 ชั้น คือ การวางแผน การปฏิบัติ และการทบทวน (Plan – Do – Review) ในสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเรา แผนการจัดประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาตามตารางกิจวัตรประจำวัน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan) ดำเนินการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (กิจกรรมวงกลม) ช่วงเวลา 9.20 – 9.45 น. ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ (Do) และ ขั้นที่ 3 การทบทวน (Review) ดำเนินการจัดประสบการณ์ ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ช่วงเวลา 10.30 – 11.15 น. ใช้เวลาดำเนินกิจกรรมวันละ 70 นาที รวมจำนวนแผนการจัดประสบการณ์ 40 แผน แบบการสังเกตพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์–จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาและแบบสังเกตผลการปฏิบัติงานศิลปะใช้สำหรับประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที ด้วยวิธี The Wilcoxon Matched – Pairs Signed – Ranks Test ผลการศึกษาพบว่า 1. พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลความก้าวหน้าการปฏิบัติงานศิลปะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป มีค่าความต่างคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละตั้งแต่ 50 -92




ฝ่ายบริหารงานวิชาการ

งานวิจัยในชั้นเรียน "ทักษะวิชาภาษาไทย" เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านคำโดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล ปีการศึกษา 2559 article
รายงานประจำปีของสถานศึกษาโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล article
การกำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง



Copyright © 2010 All Rights Reserved.